TURN PRO
How to be Financial Counsellor and Professional Life Insurance Agent
ประกันชีวิต Life Insurance
คือ เงินสดที่ถูกตระเตรียมขึ้นเพื่อส่งมอบให้บุคคลหนึ่ง วันหนึ่งในอนาคต
คือ การรวมกลุ่มของบุคคลเป็นจำนวนมาก เพื่อเฉลี่ยความเสี่ยงโดยเสมอภาคกัน
เหตุที่ต้องทำประกันชีวิต ก็เพื่อป้องกันการสูญเสียทางเศรษฐกิจ
1.สูญเสียรายได้จากความตาย
2.สูญเสียรายได้จากทุพพลภาพ เนื่องจากอุบัติเหตุ
3.สูญเสียรายได้จากการเจ็บป่วยเป็นเวลานาน ๆ
4.สูญเสียรายได้จากความชราภาพ
เนื่องจากปัญหาของคนเรามี 3 ข้อ คือ
1.อายุสั้นเกินไป 2.พิการ 3.อายุยาวเกินไป
และอุปสรรคของการหารายได้เ 4 ประการคือ
1.การเจ็บป่วย 2.อุบัติเหตุ 3.พิการ 4.เสียชีวิต
ประกันชีวิต จึงถูกสร้างขึ้นเพื่อแก้ปัญหาและอุปสรรคดังกล่าวนี้
ประโยชน์ของการประกันชีวิต
1.ให้ความคุ้มครอง
-
คุ้มครองชีวิต (คุ้มครองความสามารถ)
-
คุ้มครองในเรื่องทุพพลภาพ
-
คุ้มครองเรื่องสวัสดิการทั่วไป
2. การออมทรัพย์อย่างมีระบบ
คนส่วนใหญ่มักไม่มีระบบในการออมทรัพย์ต่อเนื่องกันเป็นระยะยาว แต่การประกันชีวิตเป็นการบังคับทางอ้อมให้เกิดการออมทรัพย์ระยะยาว
3.ช่วยลดหย่อนภาษีเงินได้
รัฐบาลให้นำเบี้ยประกันที่จ่ายจริงแต่ละปี ไม่เกิน 50,000 บาท ไปหักลดหย่อนภาษีจากเงินได้สุทธิ ก่อนคำนวนภาษี
4.ช่วยให้เกิดการลงทุน
เงินสำรองประกันชีวิต กลายเป็นสายธารของเงินทุนช่วยให้เกิดการลงทุนภายในประเทศ
5.ช่วยจัดการให้เรื่องมรดก
ลูกค้าสามารถระบุในสัญญาให้จ่ายเงินให้ผู้รับประโยชน์ เป็นราย 1 เดือน หรือจนกว่ามีอายุตามกำหนด เพื่อประกันผู้รับประโยชน์ ใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่าย
ขั้นตอนการขาย
แบ่งออกเป็น 5 ชั้นตอน
1.การเปิดใจ (Opening)
2.การค้นหาข้อมูล (Fact Finding)
3.ชี้ปัญหา (Create need)
4.การเสนอขาย (Presenting)
5.การปิดการขาย (Closing)
การเปิดใจ ( OPENING )
คือการทำให้ลูกค้าอยากคุยกับเรา โดยการยกย่องชมเชยลูกค้า(แต่ต้องพูดความจริง)ทำให้เขาสบายใจหรืออยากคุยกับเราต่อ
การค้นหาข้อมูล ( FACT FINDING )
ขั้นตอนนี้จะเป็นการหาข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าก่อนการเสนอขาย เพื่อให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า
1.ลูกค้ามีกรมธรรม์ หรือยัง ?
ถ้ามี วงเงินเท่าไร , เบี้ยประกันปีละเท่าไร, แบบประกันอะไร ซื้อเมื่อไร และบริษัทฯไหน ?
2.รายละเอียดเกี่ยวกับครอบครัว
คนโสด : โสดมีภาระ หรือโสดไม่มีภาระ
คนมีครอบครัว : มีบุตรกี่คน, อายุเท่าไร, เรียนจบหรือยัง, ภรรยาเป็นแม่บ้านหรือ ทำงาน
3.รายละเอียดเกี่ยวกับรายได้ หรือธุรกิจ
ข้อมูลทั้ง 3 ข้อ มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการขาย เพราะจะนำไปสู่การชี้ปัญหาให้ลูกค้ามองเห็นความจำเป็นในการทำประกัน แต่วิธีการต้องเป็นธรรมชาติที่สุด
การชี้ปัญหา ( CREATE NEED )
เราแบ่งลูกค้าเป็น 4 กลุ่มใหญ่
1.คนมีลูกเล็ก : เสนอโครงการทุนการศึกษา
2.คนมีความสามารถสูง : เสนอโครงการคุ้มครองรายได้ ความสามารถ สวัสดิการ
3.คนมีหนี้สิน , นักธุรกิจ : เสนอโครงการคุ้มครองธุรกิจ
4.คนโสด : เสนอโครงการสะสมทรัพย์เพื่อเกษียณอายุ
การเสนอขาย ( PRESENTING )
คือการเสนอแบบประกัน โดยอธิบายแบบง่าย ๆ กระชับแต่ชัดเจนดี โดยเราต้องเลือกแบบที่เหมาะสมกับลูกค้า ซึ่งทำให้ลูกค้าสนใจและทำได้ไม่ยากนัก
บทการขาย
บทที่ 1 ทุนการศึกษา
คุณลูกค้าครบ (ค่ะ) สมัยนี้การแข่งขันสูงมาก เด็กทุกคนต้องเรียน สูงเข้าไว้ อย่างน้อยก็ต้องจบปริญญาตรี ซึ่งต้องใช้เวลาหลายปี และใช้เงินไม่ใช่น้อย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสมาคมวางแผนครอบครัว ได้ทำการวิจัยพบว่า เด็กคนหนึ่งก่อนจะเรียนจบปริญญาตรี ต้องใช้เงินประมาณ 500,000 บาท หรือ 1 ล้านบาท ซึ่งพ่อแม่ทุกคนก็ต้องมีการเตรียมเงินด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น
วิธีที่ 1 เอาเงินก้อนไปฝากธนาคารแล้วไม่ ถอนเลย ซึ่งน้อยคนนักที่จะทำได้
วิธีที่ 2 เมื่อไม่มีเงินก้อน ก็ทยอยเก็บซึ่งต้องใช้เวลา หากมีอะไรเกิดขึ้นในช่วงนั้น ลูกก็ไม่มีเงิน
พอที่จะเรียนจบได้
วิธีที่ 3 เราต้องให้สัญญากับลูกว่า นับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ขอให้ลูกตั้งใจเรียนให้ดี พ่อจะไม่
เจ็บ ไม่ป่วย ไม่เกิดอุบัติเหตุ และไม่จากไปก่อน จะอยู่ส่งเสียลูกจนเรียนจบอย่างแน่
นอน เราคงให้สัญญาไม่ได้ใช่ไหมครับ (ค่ะ)
วิธีที่ 4 มีโครงการหนึ่ง ซึ้งไม่ต้องใช้เงิน ก้อนอย่างวิธีที่ 1 เพียงแต่ทยอยเก็บแบบที่ 2 แต่ให้หลักประกันว่า ไม่ว่าจะมีอะไร เกิดขึ้นกับเราหรือไม่ก็ตาม ลูกจะต้องเรียน จบอย่าง
แน่นนอน คุณลูกค้าว่าโครงการนี้น่าสนใจไหมครับ (ค่ะ) ..โครงการเป็นแบบนี้ครับ (ค่ะ)
(เข้าสู่โครงการอยุธยาทุนทรัพย์พิเศษ22/15 )
*********************************************************************
บทที่ 2 ความคุ้มครองด้านสวัสดิการ
2.1 ทุกวันนี้คุณตั้งใจเก็บเงิน ให้กับตัวเอง หรือตั้งใจเก็บเงินให้หมอครับ (ตัวเอง)
2.2 แล้วคุณเก็บเงินให้กับตัวเองคุณเก็บเว้ที่ไหนครับ....? (ธนาคาร)
2.3 เก็บเงินไว้กับธนาคารเกิดเจ็บป่วยมา ต้องถอนมารักษามั้ยครับ....? ( ถอน )
2.4 แล้วคุณถอนเงินมากรักษา จ่ายให้กับใครครับ...? ( หมอ )
2.5 ตกลงว่าคุณเก็บเงินให้กับตัวเองหรือ เก็บให้หมอครับ....? ( หมอ...ลูกค้ายิ้ม )
2.6 ถ้ามีวิธีการเก็บเงินอย่างหนึ่ง ที่คุณสามารถเก็บให้ตัวเองจริง ๆ และขณะที่เราเก็บนั้นระหว่างเกิดเจ็บป่วย มีใครคนหนึ่งมาจ่ายให้ และเมื่อครบกำหนดการออมเงินนั้นแล้ว ยังได้เงินคืนทั้งหมด พร้อมรับดอกเบี้ยไปด้วย คุณว่าดีมั้ยครับ
การเข้าร่วมโครงการเป็นอย่างนี้ครับ....( ทุนทรัพย์ F22/15 + สุขภาพ HS )
*********************************************************************
บทที่ 3 ออมทรัพย์ / สะสมทรัพย์เพื่อเกษียณอายุ
3.1 คุณเคยรู้จัก ตัวเลข 16425 หรือไม่ (หมายถึงอะไร)
3.2 หมายถึงว่าการที่คน ๆ เกษียณอายุ ประมาณ 60 ปี จะมีชีวิตโดยเฉลี่ยอีก 15 ปี (75ปี)
3.3 ช่วง 15 ปี คิดเป็นจำนวนวัน คือ 5,475 วัน เรากินอาหารวัน 3 มื้อ รวมเป็น 16,425 มื้อ
3.4 หากมื้อหนึ่งในอนาคตอยู่ที่ 50 บาท คุณต้องใช้เงินกินเพียงอย่างเดียวถึง 821,250 บาท
3.5 ช่วงเกษียณอายุ คุณอยากป็นคนแก่วาจาศักดิ์สิทธิ์มั้ย....?
3.6 คนแก่วาจาศักดิ์สิทธิ์ ต้องมีเงินหรือไม่มีเงิน ....? (มีเงิน)
3.7 การที่จะเป็นคนแก่มีเงิน ต้องเก็บหรือไม่เก็บ...? (เก็บ )
3.8 การเก็บระหว่างการ ใช้ก่อน เก็บ และ เก็บก่อนใช้ ใครเหลือเงินเก็บ ( เก็บก่อนใช้ )
3.9 วันนี้เราจะคุย รายละเอียดการเป็นคนแก่วาจาศักดิ์สิทธิ์ ลูกหลานรักใคร่ให้ฟัง
โครงการเป็นอย่างนี้ ( อยุธยาสินเกษียณ )
การปิดการขาย ( CLOSING )
ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุด เราจะต้องทำใจอยู่เหนือลูกค้าด้วยการคิดว่า ลูกค้าสนใจและพร้อมที่จะซื้อแล้ว วิธีง่าย ๆ ก็ให้บอกลูกค้าว่า
“พี่ครับ(ค่ะ) ไม่ทราบว่าโครงการที่เสนอให้พี่นี้ดีไหมครับ (ค่ะ) หรือ
“โครงการที่เสนอให้พี่กำลังดี หรือ น้อยไปไหมครับ (ค่ะ)
งั้นผม(ดิฉัน) ขอข้อมูลด้วยนะครับ(ค่ะ)
แล้วหยิบใบร่างขึ้นมาทำเป็นกรอกข้อมูล โดย...
1. ขอบัตร
2. ถามที่อยู่ที่บ้าน, หรือที่ทำงาน
3. ถามน้ำหนัก, ส่วนสูง, ประวัติสุขภาพ
4. เซ็นชื่อ
5. เก็บเงิน, เช็ค , บัตรเครดิต
6. นัดตรวจสุขภาพ
ถ้าลูกค้ายอมทำตามทุกอย่างก็แสดงว่าไฟเขียว (ทำ) คือการปิดการขายสำเร็จลุล่วงดี
แต่ถ้าลูกค้าไม่ยอมทำตามก็แสดงว่าต้องมี “ข้อโต้แย้ง”
การปิดการขาย อาจทำโดยวิธีการดังต่อไปนี้ คือ...
1. ปิดด้วยการใช้ใบร่าง
2. ปิดโดยการใช้ใบเสร็จ
3. ปิดโดยการใช้ภาพ
4. ปิดโดยการใช้เรื่องสะเทือนใจ
5. ปิดโดยการใช้คำถาม คำคม
6. โดยการสรุปตรวจสุขภาพ
ตัวอย่างการปิดการขาย
1. คุณลูกค้าครับ (ค่ะ) คุณลูกค้าว่าโครงการนี้ดีมั้ยครับ...
(ไม่ต้องเว้นช่องรอคำตอบ)
2. แต่โครงการนี้ ไม่ใช่ว่าทุกคนจะทำได้นะครับ
3. เพราะคนที่จะทำได้ต้องมีสุขภาพที่แข็งแรง
4. คุณลูกค้าสุขภาพดีมั้ยครับ (ค่ะ)
5. ผมขอสัมภาษณ์สุขภาพเบื้องต้นนะครับ (ค่ะ)
(หยิบใบร่างขึ้นมาพร้อมสัมภาษณ์)
6
. คุณลูกค้ามีสำเนาบัตรประชาชนมั้ยครับ (ค่ะ)
7. คุณลูกค้าครับ(ค่ะ) ผมขอชื่อผู้รับผลประโยชน์ด้วยครับ(ค่ะ)
คนที่คุณรักมากที่สุดครับ(ค่ะ) ..เขียนตรงนี้ครับ(ค่ะ)
(ให้ลูกค้าเขียนเอง)
8. รบกวนคุณลูกค้าเซ็นชื่อรับรองสิ่งที่เราคุยกันมาด้วยครับ (ค่ะ)
9. คุณลูกค้าจะออมด้วยเงินสด หรือเช็ค หรือ
บัตรเครดิตดีครับ (ค่ะ)
รบกวนคุณลูกค้าตรวจสุขภาพเบื้องต้นที่ รพ.ด้วยครับ(ค่ะ)
ปัญหาข้อโต้แย้ง
ข้อโต้แย้งส่วนใหญ่ ลูกค้ามักยกมาเป็นข้ออ้างเพื่อหลบเลี่ยงการซื้อประกัน บางครั้ง ก็มีเหตุผลที่แท้จริงของลูกค้าแฝงอยู่ด้วย
ข้อโต้แย้ง แบ่งเป็น 4 กลุ่มใหญ่ ๆ
-
ไม่ต้องการ ( NO NEED )
-
ไม่มีเงิน ( NO MONEY )
-
ไม่เชื่อมั่น ( NO CONFIDENCE )
-
ไม่รีบร้อน ( NO HURRY )
การจัดการกับข้อโต้แย้ง
โดยการจำกัดข้อโต้แย้ง คือ ค้นให้พบข้อเท็จจริง ในบรรดาข้อโต้แย้งต่างๆ ของลูกค้าโดยใช้คำพูดดังนี้
1.ไม่ทราบว่านอกจากปัญหานี้แล้ว ยังมีปัญหาอื่น อีกไหมครับ...?
2.นอกจาก 2 ปัญหานี้แล้วยังมีปัญหาอื่นอีกไหมครับ...?
3.ไม่ทราบว่าปัญหาทั้งหมดนี้ ข้อไหนสำคัญที่สุดครับ....?
4.ถ้าไม่มีปัญหาข้อนี้ แสดงว่า คุณลูกค้าทำแน่ใช่ไหมครับ...?
แล้วจึงเลือกตอบ “ปัญหาที่แท้จริง” เพียงข้อเดียว หลังจากตอบแล้วก็ปิดด้วยกิจกรรม 3 ข้อ คือ
1. เซ็นชื่อ 2.เก็บเงิน 3. นัดตรวจสุขภาพ
เรื่องจริงสะเทือนใจ เรื่องที่
ณ หมู่บ้านแห่งหนึ่งในต่างประเทศ มีแม่ม่ายคนหนึ่งพาลูกสาวอายุอยู่ในวัยเรียน 2 คน มาซื้อบ้านหลังใหญ่หลังหนึ่ง ทุกๆ วัน แม่ม่ายผู้นี้ไม่ได้ทำอาชีพอะไร ได้แต่ออกงานช่วยเหลือสังคม และไปโบสถ์ในวันอาทิตย์ ลูกสาวทั้ง 2 ได้เข้าเรียนในโรงเรียนที่ดี ครอบครัวนี้ดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข
เพื่อนบ้านคนหนึ่ง สังเกตความเป็นไปของครอบครัวนี้ด้วยความสนใจ วันหนึ่งได้มีโอกาสสนทนากับแม่ม่าย เพื่อนบ้านใหม่ ได้ถามขึ้นว่า เราอยากทราบว่าแต่ก่อนเธอทำอะไร จึงได้รับความสุขในทุกวันนี้ แม่ม่ายตอบว่า ดิฉันไม่ได้ทำอะไรเลย แต่ก่อนนี้อยู่กับสามี และลูกสาว 2 คน สามีเป็นนัก วิทยาศาสตร์ มีห้องแล็ปทำงานให้กับบริษัทต่างๆ วันหนึ่งมีชายคนหนึ่งมาหาที่บ้าน เขาเป็นตัวแทนขายประกันชีวิต ซึ่งพยายามจะขายประกันชีวิตให้กับสามีดิฉัน สามีดิฉันปฏิเสธไปอย่างสุภาพ จึงทำให้ตัวแทนมีความหวังว่า วันหนึ่งจะขายได้ เขาจึงแวะมาเสมอๆ จนกระทั่งสามีดิฉันโกรธมาก โทรศัพท์ไปหาผู้จัดการของเขา บอกว่าให้เตือนตัวแทนอย่ามารบกวนความสงบสุขของบ้านเราอีก
ในคืนวันต่อมา ผู้จัดการกับตัวแทนมาที่บ้าน พวกเราอยู่กันอย่างพร้อมหน้า เมื่อทักทายกันแล้ว แทนที่ผู้จัดการจะคุยกับสามีดิฉัน กลับถามลูกสาวดิฉันว่า ทุกวันนี้หนูมีบ้านใหญ่อยู่ มีอาหารดีๆ รับประทาน ได้นั่งรถอย่างดี ได้เรียนโรงเรียนที่ดี และมีความรักจากคุณพ่อคุณแม่ มีความสุขได้อย่างทุกวันนี้ เพราะใครทำให้หนู? ลูกสาวดิฉันตอบว่า …. “พระผู้เป็นเจ้าทำให้สิคะ” ผู้จัดการถามต่อไปว่า พระผู้เป็นเจ้าทรงมีงานยุ่งมาก ทรงใช้ให้ใครทำแทน พระองค์ละ ลูกสาวดิฉันตอบว่า … “คุณพ่อหนูสิคะ” ผู้จัดการยังถามต่อไปอีกว่า ถ้าวันหนึ่งไม่มีคุณพ่อแล้วหนูยังจะมีสิ่งดีๆ เหล่านี้อยู่อีกหรือไม่ ลูกสาวดิฉันไม่ตอบ กลับวิ่งไปกอดคุณพ่อของเธอแล้วพูดว่า คุณพ่ออย่าทิ้งหนูไปนะคะ ถ้าคุณพ่อไปพวกหนูและคุณแม่คงจะลำบากมากเลย
หลังจากนั้นไม่กี่นาทีสามีดิฉันก็ซื้อประกันฉบับหนึ่ง และอีกสามเดือนต่อมาขณะทำงานทดลองอยู่ สารเคมีระเบิดขึ้น ห้องแล็ปและบ้านเสียหาย สามีดิฉันเสียชีวิตทันที ตัวแทนได้นำเช็คใบหนึ่งมามอบให้ ดิฉันไม่เคยทราบเลยว่าสามีดิฉันจ่ายเบี้ยประกันไปเท่าไหร่ แต่เช็คใบนั้นทำให้มีบ้านหลังนี้และทุกอย่างที่คุณเห็น
ทุกๆ คืนก่อนนอน ดิฉันจะสวดมนต์ ขอบคุณพระเจ้า ที่พระองค์ได้ส่งชายคนหนึ่งมาที่บ้านซึ่งตอนแรกเราเข้าใจว่าเขาเป็นนักก่อกวน แท้ที่จริงแล้วเขาคือผู้แทนพระผู้เป็นเจ้า
เหตุการณ์นี้ เกิดขึ้นกับครอบครัวของฝรั่งครอบครัวหนึ่ง ซึ่งเหตุการณ์ทำนองนี้อาจเกิดขึ้นกับครอบครัวคนไทย ครอบครัวใดครอบครัวหนึ่งก็ได้ใช่ไหมครับ ฉะนั้น
เพื่อเป็นการป้องกันไว้ก่อน
(เซ็นชื่อตรงนี้เลยครับ)
MANHA
M = เงิน A = อำนาจการตัดสินใจ N = ความจำเป็น H = สุขภาพ A = อายุ
รายชื่อลูกค้า อาชีพ รายได้/เดือน เพศ อายุ
1....................................................... ......................... .................................... ........................ ..................
2....................................................... ......................... .................................... ........................ ..................
3....................................................... ......................... .................................... ........................ ..................
4....................................................... ......................... .................................... ........................ ..................
5....................................................... ......................... .................................... ........................ ..................
6....................................................... ......................... .................................... ........................ ..................
7....................................................... ......................... .................................... ........................ ..................
8....................................................... ......................... .................................... ........................ ..................
9....................................................... ......................... .................................... ........................ ..................
10..................................................... ......................... .................................... ........................ ..................
11..................................................... ......................... .................................... ........................ ..................
12..................................................... ......................... .................................... ........................ ..................
13..................................................... ......................... .................................... ........................ ..................
14..................................................... ......................... .................................... ........................ ..................
15..................................................... ......................... .................................... ........................ ..................
16..................................................... ......................... .................................... ........................ ..................
17..................................................... ......................... .................................... ........................ ..................
18..................................................... ......................... .................................... ........................ ..................
19..................................................... ......................... .................................... ........................ ..................
20..................................................... ......................... .................................... ........................ ..................
การประกันชีวิตผิดหลักศาสนาอิสลามหรือไม่?
อ.ยาซีน เอสเอ็ม มูตู
นายกสมาคมนักธุรกิจอุตสาหกรรมไทย-มุสลิม
ประกันชีวิตเป็น ฮาลาลหรือหะรอม
การที่จะตอบว่าประกันชีวิตเป็นฮาลาล (สิ่งที่อนุญาตให้กระทำได้) หรือหะรอม (สิ่งที่ไม่อนุญาตให้กระทำ) นั้น ตามหลักการแล้วตอบไม่ได้ เพราะว่าหลังจากที่อัลกุรอานลงมาแล้วเป็นอัลฟุกอน แยกแยะความถูกและความผิดออกจากกันอย่างชัดเจนแล้ว จึงไม่มีใครนอกจากอัลเลาะห์ และรอซูลฮ์ (ศาสดา) ที่จะพูดได้ว่าสิ่งไหนเป็นฮาลาลหรือหะรอม เพราะว่าสิ่งที่เป็นฮาลาลหรือหะรอมนั้นชัดเจนแล้วตามหลักของศาสนาอิสลาม คำว่า 'ประกันชีวิต' ไม่มีในอัลกุรอาน ไม่มีในซุนนะ (แบบอย่างของศาสดา) ท่านนะบีไม่เคยพูด ท่านซอหะบะฮ์ ท่านตาบีอิด ตาบีอีน ก็ไม่เคยเขียนเอาไว้ จึงไม่ใช่หน้าที่ของผู้ใดจะมากล่าวอ้างว่าสิ่งนั้นเป็นฮาลาลหรือหะรอม นอกจากจะเอาสิ่งที่ชัดเจนแล้วมากล่าวกัน เช่น ในประกันชีวิตมีดอกเบี้ยร่วมด้วยหรือไม่? มีการเอารัดเอาเปรียบกันหรือไม่? มีการพนันในนั้นหรือไม่? มีความไว้วางใจหรือไม่ไว้วางใจในอัลเลาะห์หรือไม่? เป็นการช่วยเหลือซึ่งกันและกันหรือไม่? ถ้าเป็นการช่วยเหลือซึ่งกันและกันแล้วก็ไม่มีใครบอกได้ว่าเป็นหะรอม เพราะฉะนั้นเมื่ออัลเลาะห์ได้กำหนดไว้เป็นสิ่งชัดเจนแล้ว ก็จำเป็นต้องนำสิ่งที่กำหนดไว้ชัดเจนแล้วมาพูดกัน ผู้ใดก็ตามที่กล่าวอ้างในสิ่งที่อัลเลาะห์ไม่ได้กำหนดไว้ย่อมถือได้ว่าเป็นการกล่าวอ้างที่ไม่เป็นธรรม เพราะในอัลกุรอานมีบัญญัติไว้ว่า 'อย่าพูดด้วยความเท็จโดยให้ลิ้นของเจ้าพาไปว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งฮาลาล เป็นหะรอม โดยอ้างพระเจ้า เพราะความเท็จในการอ้างพระเจ้านั้นทำให้ผู้พูดไม่ได้รับความจำเริญ' ซูเราะห์ที่ 16 อายะห์ที่ 116 ดังนั้น การกล่าวอ้างว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งฮาลาลหรือสิ่งหะรอมโดยอ้างชื่อพระเจ้าแล้ว เป็นสิ่งต้องห้ามตามหลักอัลกุรอานทั้งสิ้น ถ้าจะพูดว่าสิ่งใดเป็นสิ่งอนุมัติหรือไม่อนุมัติก็ต้องนำเอาสิ่งที่ชัดเจนแล้วมากล่าวกัน
ความเป็นมาของการประกันชีวิต ก่อนจะมีการประกันชีวิตนั้นมีการประกันภัยทางทะเลมาก่อน สมัยก่อนมีการค้าขายระหว่างทวีปยุโรป เอเชีย เมื่อค้าขายเสร็จแล้วก็ซื้อสินค้ากลับบ้านตัวเอง มีสถิติว่าในจำนวน 10 เที่ยว เรือต้องอับปาง 1 เที่ยว เจ้าของเรือเดินทะเลรู้ว่าใน 10 เที่ยวต้องกลายเป็นยาจกได้ในพริบตา จึงตกลงกันระหว่างพ่อค้าเดินเรือว่าไม่ควรเอาเงินซื้อสินค้าทั้งหมด แต่ให้เอาเงินส่วนหนึ่งมารวมกันเป็นกองกลาง แต่ละคนก็เดินเรือไปตามปกติ ถ้าเรือใครอับปางก็เอาเงินไปชดเชย แต่ถ้าไม่มีอะไรเกิดขึ้นก็ให้เก็บไว้เป็นเงินกองกลาง ถามว่าการทำเช่นนี้เป็นการผิดหลักของอิสลามหรือไม่? ถ้าผู้ใดพูดว่าสิ่งนี้เป็นสิ่งหะรอม เขาผู้นั้นไม่ได้พูดตามหลักการอัลอิสลาม เพราะอัลอิสลามกำหนดไว้ชัดเจนว่ามุสลิมทุกคนเป็นพี่น้องกัน ถ้าเห็นใครเดือดร้อน ก็ต้องเดือดร้อนแทนเขา ถ้าจะพูดว่าการประกันเป็นหะรอมก็ถือว่าผู้พูดไม่มีความเป็นธรรม จึงจำเป็นจะต้องศึกษาหาส่วนที่ชัดเจนที่แฝงอยู่ในคำว่าประกันชีวิต ที่จริงแล้ว การประกันชีวิตไม่ได้ประกันเพื่อว่าจะไม่ให้ตาย หลักการเฉลี่ยความเสี่ยงร่วมกัน การประกันชีวิตก็คล้ายกับการประกันเรือ หลายๆ คนมารวมกัน ฝากเงินไว้จำนวนหนึ่งต่อปี มีข้อตกลงว่าถ้าครบกำหนดก็จะคืนให้เท่าที่ตกลงกันไว้ แต่ถ้าผู้ทำประกันเสียชีวิตไปก่อนหรือทุพพลภาพทำอะไรไม่ได้ก็ให้เอาเงินก้อนหนึ่งให้ภรรยาส่งลูกให้เรียนหนังสือต่อ ตามที่ทำสัญญากันไว้ แม้ว่าผู้ทำยังฝากไม่ครบตามกำหนดก็ตาม ซึ่งต่างกับการฝากเงินในธนาคาร เป็นหลักการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ส่วนเงินที่บริษัทรับมาจะนำไปลงทุนเอง ได้กำไรหรือขาดทุนตัวผู้ทำประกันไม่เกี่ยว แต่ละฝ่ายยินดีและรับผิดชอบในข้อเสนอ รัฐบาลโดยกรมการประกันภัยคอยควบคุมเงินกองกลาง ส่วนบริษัทประกันนำเงินส่วนหนึ่งไปซื้อพันธบัตรรัฐบาล รัฐบาลก็นำเงินไปจ่ายเงินเดือน ใช้จ่ายในงบประมาณ ประกันชีวิตเกี่ยวกับดอกเบี้ยหรือไม่? การประกันเป็นการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ตัวอย่างเช่น เวลามุสลิมเสียชีวิต เพื่อนบ้านเอาเงินมาช่วยงาน แต่ไม่ได้ตกลงกันว่ามีคนที่บ้านก.เสียชีวิต ข.ช่วยงาน 100 บาท ถ้าคนที่บ้านข.เสียชีวิต ก.จะต้องไปช่วย 100 บาท อยู่กับว่าใครจะซอดะเกาะห์ หรือฮาดียะห์ ขนาดไหน สุดแต่ใจและฐานะของแต่ละคน สมมุติว่ามีคนที่บ้านม.เสียชีวิต จ.เอาเงินไปช่วยงาน 1 พันบาท อีกหลายปีต่อมาที่บ้านจ.มีคนเสียชีวิต ม.ไปช่วยงาน 2 พันบาท ส่วนที่เกินมาอีก 1 พันบาทจะเรียกว่าดอกเบี้ยไม่ได้ เพราะไม่มีสัญญาหรือข้อตกลงใดๆ แต่เป็นการช่วยเหลือกันตามฐานะ อาจจะให้มากหรือน้อยกว่าก็ได้ หลักการของการประกันชีวิตก็เช่นเดียวกัน เป็นการช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ต้องการพยุงครอบครัวให้อยู่ในฐานะช่วยเหลือตัวเองได้เมื่อหัวหน้าครอบครัวเสียชีวิตลง เป็นการปลอบใจ ในหลักการของอัลอิสลามก็มีหลักการไบตุลมาล เงินที่เหลือเก็บเข้าไบตุลมาลเป็นซากาต เมื่อใครเดือดร้อนก็นำเงินส่วนนั้นไปช่วยเหลือ
สมัยก่อนไม่มีค่าใช้จ่ายในการเรียนหนังสือ การเรียนศาสนาเป็นการเรียนโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่ปัจจุบัน การศึกษาในโรงเรียนต้องเสียค่าใช้จ่าย เป็นหน้าที่ของพ่อแม่ที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายให้ลูกได้เรียน แทนที่พ่อแม่จะสะสมเงินไว้ให้ลูกเรียนหนังสือเองก็ไปตกลงกับบริษัทประกันว่าจะฝากเดือนละเท่านั้นเท่านี้ ถ้าครบกำหนดผู้ฝากก็ได้เงินคืน แต่ถ้าไม่ครบกำหนดก็ช่วยดูแลครอบครัวแทนหัวหน้าครอบครัวผู้ฝากเงินประกัน เป็นข้อตกลงกันระหว่าง 2 ฝ่ายโดยมีกรมการประกันภัยเป็นเจ้าหน้าที่คอยดูแลอยู่ ถือว่าเป็นข้อตกลงที่ถูกต้องตามหลักอัลอิสลาม เป็นการช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน เรื่องดอกเบี้ยอัลกุรอานพูดไว้ชัดเจนว่า 'การให้กู้เงินหรือฝากเงินแล้วได้รับผลประโยชน์มาเป็นเงินเกินกว่าเงินต้นให้ถือว่าเป็นดอกเบี้ย และดอกเบี้ยเป็นสิ่งหะรอม' ท่านได้ประกาศว่า 'นับจากวันนี้เป็นต้นไป คนที่กู้เงินเขามาให้คืนไปเฉพาะเงินต้น นับจากดอกเบี้ยของอะบาซเป็นคนแรก' เพราะฉะนั้นคนที่ให้คนอื่นกู้เงินไปแล้วจะเอาเงินคืนเกินกว่าที่เอาไปไม่ได้ นี้เป็นคำสั่งชัดเจนในอัลกุรอาน แต่ไม่มีข้อห้ามว่าผู้ใดก็ตามที่กู้ยืมเขาแล้ว นำไปลงทุน ได้กำไรและจะให้คืนเกินกว่าที่เขายืมมาบ้างเป็นการตอบแทนบุญคุณนั้น ไม่มีข้อห้าม เพราะท่านนบีก็เคยทำสิ่งนั้น หลังจากที่ยืมเงินเขามาแล้ว พอถึงเวลาคืนท่านก็แถมให้เขาไปอีก สิ่งเหล่านี้ไม่ได้เรียกว่าซาดากะ เพราะซาดากะเป็นการให้ทานกับผู้ที่ยากไร้ขัดสน แต่สำหรับคนรวยคงจะรับทานจากเราไม่ได้ น่าจะเป็นการให้ของขวัญหรือตอบแทนบุญคุณ ซึ่งเรียกว่า 'ฮาดียะห์' สิ่งใดที่ฝากไว้และไม่ได้อยากได้ของผู้อื่น
เพราะแท้ที่จริงแล้วหลักการประกันชีวิตไม่ใช่การลงทุนเพื่อดอกเบี้ยเหมือนธนาคาร ประกันชีวิตเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน 'โอ้ผู้ศรัทธาทั้งหลาย อย่ากินทรัพย์สินซึ่งกันและกันในระหว่างพวกเจ้าโดยความไม่ชอบ แต่ให้มีการค้าในระหว่างพวกเจ้า เพื่อยังประโยชน์ซึ่งกันและกัน' นี่เป็นข้อบัญญัติในอัลกุรอานว่าให้เอาเงินมารวมกันเพื่อทำการค้าอันจะก่อให้เกิดประโยชน์ซึ่งกันและกันและเอากำไรมาแบ่งปันกัน ตัวอย่างเช่น เราซื้อข้าวแกง 1 จาน เราได้ความอิ่มและความอร่อย พ่อค้าที่ขายเขาได้ทั้งทุนและกำไรคืนไป จึงได้ประโยชน์ทั้ง 2 ฝ่าย เป็นประโยชน์ซึ่งกันและกัน สำหรับเงินที่เราไปฝากไว้ที่ประกันชีวิต บริษัทเขาเอาไปเก็บไว้เฉยๆ ไม่ได้ บริษัทเขาเอาไปทำการค้าบ้าง ซื้อพันธบัตรบ้าง แล้วแบ่งให้ลูกค้าตามกำไรที่ได้ แต่เจตนาของเราไม่ใช่เพื่อการลงทุน แต่เพื่อสงเคราะห์ซึ่งกันและกันเหมือนกับกลุ่มพ่อค้าเรือเดินทะเล ส่วนบริษัทจะนำเงินไปลงทุนตรงไหน ถ้าเขานำไปลงทุนในเรื่องดีหรือไม่ดี เราก็มีหุ้นส่วนในนั้น เพราะอัลกุรอานบัญญัติไว้ชัดเจนว่า 'ผู้ใดที่สนับสนุนให้เกิดความดีอันหนึ่ง เขามีหุ้นส่วนในนั้น ผู้ใดสนับสนุนให้เกิดความเสียหาย ความชั่วร้ายอันหนึ่ง เขาก็มีหุ้นส่วนในนั้น' เราไปสนับสนุนบริษัทให้ทำการค้านั้นหรือเปล่า? จริงๆ แล้วคนที่ทำประกันไม่รู้ด้วยซ้ำว่าบริษัทเขาเอาเงินไปทำอะไรบ้าง เพราะเป้าหมายจริงๆ ไม่ใช่ฝากเพื่อให้ได้ เป็นการฝากเพื่อคุ้มครองรายได้ ถ้ารู้หรือสงสัยว่าบริษัทจะเอาเงินไปลงทุนในสิ่งที่เสียหาย เราก็เข้าร่วมไม่ได้ แต่ถ้าไม่รู้ก็ไม่เกี่ยว เพราะเป้าหมายของเราไม่ใช่อยู่ที่การลงทุน แต่บางคนชอบสงสัยเอาไว้ก่อน ความสงสัยมี 2 อย่างคือ 1.ความสงสัยในเรื่องศาสนาว่าจะเป็นฮาลาลหรือหะรอม ให้หลีกหนี 2.สงสัยว่าคนนี้จะชั่วหรือนำเงินไปลงทุนในสิ่งไม่ดีเรียกว่าซอลฮ์ อัลกุรอานบัญญัติไว้ชัดเจนว่า 'การระแวงสงสัยมากเป็นบาป' ถ้าไประแวงมากโดยไม่หาความรู้ก็ผิด ถ้าอยากรู้ก็โทรศัพท์ไปถามกรมการประกันภัยได้ อย่าตัดสินลงไปโดยไม่ได้หาความรู้ เราพูดไม่ได้ว่าซาลาเปาลูกนี้เป็นหะรอม กินไม่ได้ เพราะในอัลกุรอานไม่มีคำว่า 'ซาลาเปา' แต่มีกำหนดในเรื่องของความสะอาด (ตอฮาเลาะห์) หมู เหล้าเป็นหะรอม ถ้ามีสิ่งต้องห้ามปนอยู่ในซาลาเปา ซาลาเปาลูกนั้นก็กินไม่ได้ เพราะฉะนั้น ไม่ใช่ซาลาเปาที่กินไม่ได้ แต่ซาลาเปาเฉพาะลูกที่มีของต้องห้ามเจือปนต่างหากที่กินไม่ได้ ประกันชีวิตไม่น่าเกี่ยวข้องกับดอกเบี้ย ฝากธนาคารได้ดอกเบี้ยชัดเจนกว่า ส่วนบริษัทเอาไปลงทุนอะไรเราไม่รู้ แต่เป้าหมายอยู่ที่เราจะคุ้มครองรายได้เพื่อคนที่อยู่ข้างหลัง และบริษัทผู้รับสนองก็ไว้วางใจได้
เป็นการพนันหรือไม่? การพนันและการเสี่ยงทายเป็นของต้องห้ามแน่นอน การประกันชีวิตเป็นการเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ไม่เกี่ยวกับการพนัน ไม่มีฝ่ายไหนได้เปรียบหรือเสียเปรียบ แต่เป็นข้อตกลงที่จะช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และไม่เป็นการเสี่ยงทาย เพราะไม่มีพฤติกรรมของการเสี่ยงทาย การเป็นการตายอัลเลาะห์เป็นผู้กำหนด ไม่มีมนุษย์คนใดกำหนดได้ การประกันชีวิตเป็นการเผื่อเอาไว้ เป็นการตกลงกันในกลุ่มหนึ่งว่าจะช่วยเหลือเมื่อใครเสียชีวิตก่อน ถามว่าไม่เป็นการตะวะกูนหรือไม่? อัลเลาะห์ให้เกิด แล้วก็ให้ตาย ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของอัลเลาะห์ ถ้าพูดอย่างนี้ก็ลืมหะดิษของท่านนบีที่บอกว่า 'การปล่อยอูฐไว้กลางทะเลทราย ถ้าจะหายหรืออยู่ก็แล้วแต่มัน' การตาวะกัล หมายถึงว่าผูกอูฐไว้ดีแล้ว ถ้ามันจะหายหรือไม่หายก็เป็นเรื่องของอัลเลาะห์ แต่ถ้ายังไม่ได้ผูกอูฐอย่าพูดคำว่า 'ตาวะกัล' เปรียบเหมือนกับไม่สบาย แล้วพูดว่าจะหายหรือไม่หายเป็นเรื่องของอัลเลาะห์ อย่างนี้เรียกว่าเป็นความประมาท ความประมาทเป็นสิ่งต้องห้ามในอิสลาม หรือการมีลูกหลานแล้วปล่อยตามยถากรรม จะดีหรือชั่วก็ขึ้นอยู่กับอัลเลาะห์ อย่างนี้ถือว่าขัดหลักอิสลามที่บอกว่า 'ให้รักษาตัวเจ้า ครอบครัว และคนในปกครอง ให้พ้นจากไฟนรก' ถ้าเราปล่อยตามยถากรรม แล้วหน้าที่ของเราอยู่ที่ไหน? ต้องทำหน้าที่ให้สุดปัญญาก่อน หลังจากนั้น อะไรจะเกิดก็ต้องเกิด อย่างนี้จึงจะเรียกว่า 'ตาวะกัล' หน้าที่ความรับผิดชอบที่ต้องดูแลบุตรหลาน ไม่ใช่ว่าหากินไปวันหนึ่งๆ ถ้าหัวหน้าครอบครัวเสียชีวิตไปก็ปล่อยให้เป็นภาระของครอบครัว เป็นการปล่อยตามยถากรรม เป็นความประมาท ถ้ามีทางออกคือมีบริษัทประกันชีวิต เป็นการประกันรายได้ ไม่ใช่ประกันไม่ให้ตาย แต่เป็นสัญญาว่าจะช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ถูกต้องตามหลักการ ไม่ใช่เป็นการไม่ไว้วางใจอัลเลาะห์ และเราต้องรับผิดชอบครอบครัวถึงหลังการตายด้วย มิฉะนั้นจะมีมรดกไว้เพื่ออะไร การประกันชีวิตก็เป็นลักษณะของมรดกอย่างหนึ่งเหมือนกัน เจตนาเหมือนกับมรดก เพราะฉะนั้นการประกันชีวิตจะเป็นหะรอมไปไม่ได้ เห็นชัดแล้วว่าไม่เกี่ยวกับดอกเบี้ย ตะวะกู การพนัน การเอาเปรียบ ซึ่ง 4 ข้อนี้เป็นหะรอม ถ้าไม่เกี่ยวกับ 4 ข้อนี้ก็เป็นสิ่งฮาลาล ขอให้สังเกตประกันชีวิตมีในประเทศมุสลิมทั้งหมด ทั้งในเจดดะห์ ไคโร เมกกะ มาเลเซีย อินโดนีเซีย หรือในปากีสถานที่เป็นประเทศเคร่งครัด ไม่มีประเทศไหนห้ามทำประกันชีวิต รัฐบาลสบายใจว่าถ้าหัวหน้าครอบครัวเสียชีวิต ก็จะไม่เป็นภาระของสังคม เพราะมีเงินสะสมไว้ ถ้ามีคนรับความช่วยเหลือน้อยเท่าไร ผู้ให้ความช่วยเหลือก็จะช่วยเหลือได้กว้างขวางมากขึ้น ไม่มีใครกำหนดว่าผิดหลักการ มิฉะนั้นแล้วจะเกิดขึ้นในประเทศมุสลิมไม่ได้ เอาเงินไปร่วมกับคนต่าง
ศาสนาผิดหรือไม่? ส่วนประเด็นการนำเงินไปรวมกันกับคนอื่นๆ ต่างศาสนาจะขัดกับหลักอิสลามหรือไม่ คำตอบมีอยู่ชัดเจนในอัลกุรอาน 'อัลเลาะห์ไม่ได้ห้ามพวกเจ้าในการที่จะทำความดี หรือกระทำสิ่งอันเป็นการยุติธรรมต่อบุคคลที่ไม่ใช่มุสลิม ตราบใดที่เขาไม่ได้ไล่เจ้าออกจากบ้าน ไม่ได้ต่อสู้กับเจ้าในเรื่องศาสนา อัลเลาะห์รักบุคคลที่มีความเป็นธรรมและยุติธรรม' มีบัญญัติห้ามร่วมกันในเรื่องการปฏิบัติศาสนกิจเท่านั้น การช่วยเหลือซึ่งกันและกันอัลเลาะห์ก็ไม่ได้ห้าม
เหตุผลที่มุสลิมต้องทำประกันชีวิต
1.เพื่อประกันรายได้ของครอบครัวเมื่อสูญเสียหัวหน้าครอบครัว ดังรายละเอียดข้างต้น
2.เป็นกฎที่ต้องรักษาวงศาคณาญาติ อัลเลาะห์สนับสนุนให้ช่วยเหลือ
1) เพื่อนบ้าน
2) ญาติโดยสายเลือด และ
3) มุสลิมด้วยกัน
หลักการของอัลอิสลามสั่งไว้ว่าถ้าหากหัวหน้าครอบครัวเสียชีวิตลง ก็ให้ดูแลลูกกำพร้าด้วยเงินที่เป็นมรดกของลูกกำพร้าเอง นบีห้ามไปขอคนอื่น ยกเว้นว่าคนอื่นจะนำมาให้เอง
3.มีบาป 2 อย่างที่อัลเลาะห์ไม่ให้อภัย คือบาปซิริกฮ์และบาปอากูอาดัม มุสลิมไม่มีบาปซิริกฮ์ แต่บาปอากูอาดัมมีเยอะ โดยเฉพาะหนี้สินที่ไม่ได้ชำระ อัลเลาะห์ยกโทษให้ไม่ได้ในวันอาคีเลาะห์ เป็นหลักศาสนาว่าเมื่อใครเสียชีวิตลงต้องมีคนมาประกาศถามว่าผู้ตายเป็นหนี้ใครหรือเปล่า ญาติหรือลูกจะต้องรับหนี้แทนก่อนที่นำศพไปฝัง การนำศพไปฝังโดยไม่ถามถึงหนี้เป็นเรื่องของคนที่ไม่มีความรับผิดชอบ การซื้อประกันไว้เป็นความไม่ประมาท เป็นการตกลงว่าถ้าเสียชีวิตไปก่อนให้นำเงินก้อนที่ฝากไว้ไปใช้หนี้แทน ภรรยาที่อยู่ข้างหลังจะไม่ต้องรับภาระในการชำระหนี้แทนสามีที่จากไป เป็นความรับผิดชอบส่วนบุคคล
คนที่ไม่มีความรับผิดชอบเท่านั้นที่จะกำหนดว่าประกันชีวิตไม่อนุมัติในอิสลาม ขอย้ำอีกครั้งว่าการประกันชีวิตไม่ได้ประกันเพื่อว่าจะไม่ตาย แต่เป็นการประกันรายได้ ความรับผิดชอบที่มีต่อกัน จึงขอให้ทุกคนใส่ใจกับเรื่องเหล่านี้ อย่าพูดสับสนกันเพื่อว่าคนรุ่นหลังจะได้ไม่สับสน